Monday, December 11, 2006

ความรู้เกี่ยวกับ Broadcast Radio



วิทยุกระจายเสียง
คำว่า วิทยุ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำว่า เรดิโอ (Radio) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงการรับและส่งข่าวด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุโดยไม่ต้องใช้สายเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องรับกับเครื่องส่ง หากส่งข่าวสารเป็นรหัสสัญญาณไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว แทนภาษาพูด ก็เรียกว่าวิทยุโทรเลข (Radio Telegraph) คือการส่งโทรเลขโดยใช้คลื่นวิทยุนั่นเอง หากส่งให้ออกเป็นเสียงพูดหรือเสียงอื่นได้โดยตรงเรียกว่า วิทยุกระจายเสียง (Radio Broadcasting) เช่น การส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆ ที่รับฟังกันอยู่ทั่วไป

ประวัติความเป็นมาของวิทยุกระจายเสียง
ประวัติความเป็นมาของวิทยุกระจายเสียงกำเนิดวิทยุของโลก มีความเป็นมาตามลำดับต่อไปนี้พ.ศ. 2408 เจมส์ คลาก แมกซ์เวล (James Clerk Maxwell) ชาวอังกฤษค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุพ.ศ. 2430 เฮนริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์ (Henrich Rudolf Hertz) ได้ค้นคว้าทดลองตามหลักการของ แมลซ์แวล ค้นพบคุณสมบัติต่างๆ ของคลื่นวิทยุพ.ศ. 2444 กูลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo marconi) ชาวอิตาลี สามารถส่งคลื่นวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ระยะทางกว่า 2,000 ไมล์ การส่งวิทยุระยะแรกเป็นการส่งวิทยุโทรเลข ยังไม่สามารถส่งสัญญาณที่เป็นเสียงพูดได้ จนกระทั้ง พ.ศ. 2449 จึงสามารถส่งสัญญาณเสียงพูดได้โดยการพัฒนาของศาตราจารย์ เรจินัลต์ เอ. เพสเสนเดน (Riginald A. Fessenden) และลีเดอฟอเรส (Lee de Forest) ชาวอเมริกันทำได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นการส่งเสียงพูดจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับเครื่องหนึ่งในระยะไกลเรียกว่า วิทยุโทรศัพท์ (Radio Telephony) สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศครั้งแรกของโลกคือ สถานี KCBS ในซานฟรานซิโก สหรัฐอเมริกา เริ่มออกอากาศรายการประจำให้คนทั่วไปรับฟังเมื่อ พ.ศ. 2453 (สุมน อยู่สิน และยงยุทธ รักษาศรี 2534 : 47-65)
วิทยุในประเทศไทยวิทยุโทรเลข ถูกนำเข้ามาทดลองใช้ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2447 ตรงกับปลาย รัชกาลที่ 5 โดยห้างบีกริม ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทวิทยุโทรเลขเทเลฟุงเกน ประเทศเยอรมัน ทำการทดลอง ส่งระหว่างกรุงเทพมหานคร กับเกาะสีชังพ.ศ. 2456 สมัยรัชกาลที่ 6 กระทรวงทหารเรือ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นที่ตำบลศาลาแดงในพระนครแห่งหนึ่ง และที่จังหวัดสงขลาอีกแห่งหนึ่ง ต่อมา พ.ศ. 2469 ได้โอนกิจการสถานีวิทยุทั้งสองแห่งให้กรมไปรษณีโทรเลข และต่อมางานวิทยุโทรเลขได้ขยายไปสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศวิทยุกระจายเสียง เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2471 โดยการเริ่มทดลองส่งของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพานิชย์ และการคมนาคมในสมัยรัชกาลที่ 7 ตั้งสถานี 4 พีเจ (4PJ) ขึ้นอยู่ในความดูแลของกองช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลข แต่การกระจายเสียงจำกัดอยู่ในหมู่เจ้านาย ข้าราชการ จนกระทั่ง พ.ศ. 2472 จึงตั้งสถานีวิทยุแห่งใหม่ขึ้นที่วังพญาไท กระจายเสียงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประชาชนทั่วไปได้รับฟัง ซึ่งถือว่าเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกของประเทศไทยพ.ศ. 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะราษฎร์ได้ใช้วิทยุกระจายเสียงเผยแพร่ข่าวให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่องพ.ศ. 2482 รัฐบาลตั้งสำนักงานโฆษณาการขึ้นและโอนสถานีวิทยุต่างๆ ให้อยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานโฆษณาการ (ภายหลังเปลี่ยนกรมโฆษณาการ และเป็นกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เรียกสถานีวิทยุใหม่ว่า "สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย" หลังจากนั้นวิทยุกระจายเสียงได้พัฒนาแพร่หลายมาเป็นลำดับ (อนันต์ธนา อังกินันทน์ 2532 : 9-16)
คุณค่าของวิทยุกระจายเสียงคุณลักษณะทั่วไป
1. สามารถส่งคลื่นกระจายเสียงไปได้ไกลทุกหนทุกแห่ง ผู้รับจึงสะดวกสามารถจะเปิดเครื่องรับฟังได้ทุกสถานี คลื่นวิทยุที่ใช้สำหรับส่งวิทยุกระจายเสียงมีหลายขนาดคลื่น เช่น LW SW MW หรือ AM FM ซึ่งคลื่นแต่ละอย่างมีคุณสมบัติต่างกัน สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับระยะทางหรือพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น คลื่นสั้น (SW) สามารถส่งไปได้ไกลมากเป็นพิเศษแม้จะอยู่คนละซีกโลกก็สามารถรับได้ ไม่จำกัดทั้งระยะทางและสิ่งกีดขวาง ผลดีในแง่การสื่อสารก็คือ ทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ข่าวสารไปสู่ผู้รับได้พร้อมกันจำนวนมหาศาล2. ส่งข่าวสารได้รวดเร็วกว่าสื่ออื่นทุกประเภท เนื่องจากงานจัดรายการวิทยุสามารถทำได้โดยง่าย ใช้คนเพียงคนเดียวก็สามารถพูดหรือเปิดเทปออกอากาศได้ทันที ซึ่งสถานีวิทยุต่างๆ มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา วิทยุจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการเสนอรายการประเภทข่าว ซึ่งต้องการความรวดเร็วในการนำเสนอ3. มีกำลังชักชวนจูงใจสูง แม้ว่าวิทยุเป็นสื่อที่มีเพียงเสียงอย่างเดียวแต่ด้วยอำนาจของเสียง คำพูด เทคนิคของวิทยุ และความสามารถของผู้จัดรายการ ซึ่งส่วนใหญ่มีทักษะในการพูดเป็นอย่างดี สามารถพูดให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัดเจน พูดให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือนได้เห็นภาพ และคำพูดมีอิทธิพลในการชักจูงใจสูง เป็นสื่อที่ใช้ได้ดีกับรายการหลายประเภท เช่น ข่าว ละคร การพูดบรรยาย ดนตรี เพลง การโฆษณาสินค้า ฯลฯ 4. ความสะดวกและง่ายต่อการรับ อาจใช้เครื่องรับวิทยุขนาดเล็ก รับสัญญาณวิทยุในสถานที่ใดๆ ก็ได้ เช่น ในบ้าน รถยนต์ สำนักงาน รับฟังได้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องมีความตั้งใจเป็นพิเศษ อาจฟังวิทยุไปพร้อมกับการทำงานอื่นๆ วิทยุจึงเป็นสิ่งที่ใช้ได้ทุกเวลาทุกโอกาส5. เป็นสื่อมวลชนที่ผู้รับเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ไม่ว่าจะใช้วิทยุเพื่อรับรู้ข่าวสารหรือเพื่อความบันเทิงก็ตาม ผู้รับลงทุนครั้งแรกสำหรับเครื่องรับวิทยุเพียงครั้งเดียว ก็สามารถรับฟังสิ่งต่างๆ ได้ตลอดไป มีรายการของสถานีวิทยุต่างๆให้รับฟังเป็นจำนวนมาก ผู้นิยมฟังเพลงทางวิทยุ ก็ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อเทปหรือแผ่นเสียงต่างๆ เพราะวิทยุกระจายเสียงมีรายการประเภทนี้มากเป็นพิเศษแทบทุกสถานี6. ปริมาณและคุณภาพของวิทยุกระจายเสียง ด้านปริมาณมีสถานีวิทยุต่างๆ ออกอากาศอยู่เป็นจำนวนมาก เฉพาะสถานีวิทยุในประเทศไ ทย รวมทุกภูมิภาคแล้วมีจำนวนหลายร้อยสถานี แต่ละภูมิภาคก็สามารถรับได้หลายสิบสถานี จึงเปิดโอกาสให้เลือกรับฟังได้อย่างกว้างขวาง ด้านคุณภาพปัจจุบันมีการส่งกระจายเสียงวิทยุในระบบ สเตอริโอ คุณภาพเสียงชัดเจนเป็นพิเศษ จึงมีผู้นิยมฟังรายการประเภทเพลง หรือดนตรีทางวิทยุกันมากคุณค่าทางการศึกษาของวิทยุ1. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษา จากการฟังรายการทุกประเภท รายวิทยุส่วนใหญ่จะใช้ภาษาถูกต้องตามหลักภาษาและแบบแผนของทางราชการ2. ให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยอาศัยเทคนิคของวิทยุ เช่น การพูดจูงใจการใช้เสียงดนตรี เสียงประกอบ การเสนอซ้ำๆ3. เปิดโอกาสให้นำวิทยากร ผู้มีชื่อเสียง หรือ ผู้ชำนาญการสอน ถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้รับจำนวนมากพร้อมกัน4. ปลูกฝังความรู้สึกด้านคุณธรรม ค่านิยมต่างๆ ได้ดี เช่นความรักชาติตลอดจนค่านิยมทางศาสนาและจริยธรรมต่างๆ5. คุณสมบัติด้านเสียงของวิทยุเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการสอนด้านภาษา ขับร้องดนตรี6. ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย เนื่องจากสามารถรับฟังได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
ระบบการรับส่งวิทยุกระจายเสียงคลื่นวิทยุ (Radio Frequency)
เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง ซึ่งมีคุณสมบัติกระจายไปได้เป็นระยะทางไกล ด้วยความเร็วเท่ากับแสงคือ 300 ล้านเมตรต่อวินาที เครื่องส่งวิทยุจะทำหน้าที่สร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงหรือคลื่นวิทยุ (RF) ผสมกับคลื่นเสียง (Audio Frequency -AF) แล้วส่งกระจายออกไป ลำพังคลื่นเสียงซึ่งมีความถี่ต่ำไม่สามารถส่งไปไกลๆ ได้ ต้องอาศัยคลื่นวิทยุเป็นพาหะจึงเรียกคลื่นวิทยุว่า คลื่นพาหะ (Carier Wave) เครื่องรับวิทยุ จะทำหน้าที่รับคลื่นวิทยุและแยกคลื่นเสียงออกจากคลื่นวิทยุให้รับฟังเป็นเสียงปกติได้ความถี่ของคลื่น หมายถึง จำนวนรอบของการเปลี่ยนแปลงของคลื่น ในเวลา 1 นาที คลื่นเสียงมีความถี่ช่วงที่หูของคนรับฟังได้ คือ ตั้งแต่ 20 เฮิร์ตถึง 20 กิโลเฮิรตรซ์ (1 KHz =1,000 Hz) ส่วนคลื่นวิทยุเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง อาจมีตั้งแต่ 3 KHz ไปจนถึง 300 GHz ( 1 GHz = พันล้าน Hz) คลื่นวิทยุแต่ละช่วงความถี่จะถูกกำหนดให้ใช้งานด้านต่างๆ
ชื่อแถบความถี่ ความถี่
ชื่อแถบความถี่ ความถี่ การใช้งานในประเทศไทยVery Low Frequency(VLF) 3-30 KHz (K=1พัน) -Low Frequency (LF) 30-300 KHz -Medium Frequency (MF) 300-3,000 KHz วิทยุ AM คลื่น MWHigh Frequency (HF) 3,000-30,000 KHz วิทยุ AM คลื่นสั้น (SW) Very thigh Frequency (VHF) 30-300 MHz (M=1ล้าน) วิทยุ FM และโทรทัศน์ช่อง2-12Ultra High Frequency (UHF) 300-3,000 MHz โทรทัศน์ช่อง 14-69Super High Frequecy (SHF) 3-30 GHz (G=พันล้าน) สัญญาณผ่านดาวเดียมExtremdy High Frequency (EHF) 30-300 GHz -ตารางที่แสดงแถบความถี่คลื่นวิทยุ
การเรียกขนาดของความถี่
การเรียกขนาดของความถี่ บางครั้งอาจเรียกตามความยาวคลื่น ซึ่งหาได้จากความเร็วคลื่นหารด้วยความถี่ เช่น คลื่นวิทยุ FM ความถี่ 100 MHz ความยาวคลื่นจึงเท่ากับ 3 เมตร การทราบขนาดความยาวคลื่นมีประโยชน์สำหรับการเลือกรับคลื่นวิทยุต่างๆ เนื่องจากบางครั้งจะเรียกคลื่นวิทยุตามความยาวคลื่น นอกจากนี้ยังมีประโยชน์สำหรับการเลือกใช้ขนาดแผงสายอากาศที่เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไป แผงสายอากาศจะใช้ขนาดประมาณ 1 ใน 4 ของความยาวคลื่นวิทยุเอเอ็มและเอฟเอ็มหมายถึงระบบการผสมคลื่นเสียงเข้ากับคลื่นวิทยุซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ1. ระบบเอเอ็ม (AM) หมายถึงระบบการผสมคลื่นที่เมื่อผสมกันแล้วทำให้ความสูงของคลื่นวิทยุเปลี่ยนแปลงไปตามคลื่นเสียง จึงเรียกว่าการผสมทางความสูงของคลื่น (Amplitude Modulation) หรือ AM วิทยุ AM ให้คุณภาพของเสียงไม่ดีนัก เพราะเกิดการรบกวน ได้ง่าย เช่น ถูกรบกวนจากสถานีข้างเคียง เครื่องใช้ไฟฟ้า และที่สำคัญคือการรบกวนจากธรรมชาติ ได้แก่ เวลาฝนตก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า สภาพอากาศที่แปรปรวนมากๆ จะทำให้เสียงขาดหายเป็นช่วงๆ การส่งวิทยุ AM แบ่งความถี่การใช้งานออกเป็นช่วงคลื่น (Band) ต่างๆ ดังนี้1.1 LW (Long wave) ความถี่ 30 -300 KHz1.2 MW (Medium Wave) ความถี่ 535 -1605 KHz เป็นความถี่ของวิทยุ AM ส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทย จำนวนกว่า 200 สถานี กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยทั่วไปส่งได้ไกลประมาณ 200 กิโลเมตร1.3 SW (Shot Wave) ความถี่ 3 -30 MHz คุณภาพเสียงไม่ดี แต่ส่งไปได้ไกลมากนับพันกิโลเมตร จึงสามารถส่งกระจายเสียงได้ถึงข้ามทวีป เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (Radio Thailand) 11.965 MHz และ 9.0655 MHz สถานี BBC ความถี่ที่รับได้ในประเทศไทย 11.910 MHz สถานีวิทยุเสียงอเมริกา หรือ (Voice of America) ความถี่ 11.780 MHz สถานีวิทยุของออสเตเลีย (Radio Australia) ความถี่ 15.40 MHz Radio Japan ความถี่ 15.235 MHz (ยุทธนา สาริยา 2527 : 18)2 ระบบ เอฟเอ็ม (FM) เป็นการผสมคลื่นทางความถี่ (Frequency Modulation) คือคลื่นวิทยุที่ผสมกับคลื่นเสียงแล้ว จะมีความถี่ไม่สม่ำเสมอ เปลี่ยนแปลงไปตามคลื่นเสียง แต่ความสูงของคลื่นยังคงเดิม วิทยุ FM ส่งด้วยความถี่ 88 -108 MHz ในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 100 สถานี กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ให้คุณภาพเสียงดีเยี่ยม ไม่เกิดสัญญาณรบกวนจากสภาพอากาศแปรปรวน แต่ส่งได้ในระยะประมาณไม่เกินประมาณ 150 กิโลเมตร ปัจจุบันนิยมส่งในแบบ สเตอริโอ ที่เรียกว่าระบบ FM Sterio Multiplex ซึ่งเครื่องรับวิทยุสามารถแยกสัญญาณแอกเป็น 2 ข้าง คือ สัญญาณสำหรับลำโพงด้านซ้าย (L) และ สัญญาณสำหรับลำโพงขวา (R)
ประเภทของรายการวิทยุ
ประเภทของรายการวิทยุ แบ่งตามจุดประสงค์ของการนำเสนอเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ รายการเพื่อให้ข่าวสาร รายการให้ความรู้เพื่อการศึกษา รายการเพื่อความบันเทิง รายการโฆษณาประชาสัมพันธ์ 1. รายการข่าว ธรรมชาติของคนตามปกติมีความอยากรู้อยากเห็นอยู่แล้ว การที่วิทยุกระจายเสียงสามารถนำเสนอเรื่องราวข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็วทันเหตุการณ์ ทำให้รายการวิทยุประเภทรายการข่าวได้รับความสนใจจากผู้รับฟังมากที่สุด สถานีวิทยุต่างๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องนำเสนอข่าวให้คนได้รับฟังเป็นระยะๆ โดยการนำเสนอในลักษณะต่างๆ เช่น ข่าวสั้น ข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ ข่าวท้องถิ่น นอกจากนี้ยังนำข่าวหรือเรื่องราวที่ผู้ฟังอาจรับทราบไปบ้างแล้ว มานำเสนอเป็นเชิงวิเคราะห์ ตลอดจนทำเป็นรายการสารคดีเชิงข่าว เพื่อช่วยให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น2. รายการให้ความรู้เพื่อการศึกษา ได้แก่ รายการที่ก่อให้เกิดความรู้แก่ผู้รับกลุ่มต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรายการของสถานีวิทยุทั่วไป หรืออาจเป็นรายการของสถานีวิทยุที่จัดตั้งขึ้นสำหรับถ่ายทอดรายการทางการศึกษาโดยเฉพาะ ที่มีวัตถุประสงค์และเนื้อหาแตกต่างกัน 3 ลักษณะคือ2.1 รายการเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชนทั่วไป อาจเป็นรายการให้ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง หรืออาจเป็นสาระความรู้ที่แฝงอยู่ในรายการข่าวหรือรายการประเภทบันเทิงก็ได้ เนื้อหาของรายการจึงเป็นการให้ความรู้ หรือส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องที่ทั่วๆ ไป เช่น การเกษตร ศิลปวัฒนธรรม กฎหมาย การอนามัย แนวทางการดำเนินชีวิตต่างๆ2.2 รายการเพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อให้การศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน และกลุ่มสนใจเฉพาะเรื่อง2.3 รายการเพื่อการสอนหรือการศึกษาในระบบโรงเรียน เป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อนำเสนอความรู้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้แน่นอน เช่นรายการวิทยุโรงเรียนสำหรับการสอนในวิชาต่างๆ3. รายการประเภทให้ความบันเทิง เช่น รายการดนตรี เพลง ละคร ตลอดจนรายการเบ็ดเตล็ดต่างๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้รับเกิดความเพลิดเพลิน ซึ่งอาจจัดในลักษณะเป็นรายการบันเทิงล้วนๆ หรือจัดเป็นรายการบันเทิงที่สอดแทรกข่าวและสาระความรู้ต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน4. รายการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เนื่องจากสถานีวิทยุกระจายเสียงส่วนใหญ่ดำเนินการโดยอาศัยการสนับสนุนจากธุรกิจการค้า จึงมีรายการวิทยุจำนวนมากที่มุ่งเพื่อการโฆษณา โดยเฉพาะรายการบันเทิงทั่วไป มักจะแทรกการโฆษณาสินค้าลงไปในรายการอยู่ตลอดเวลา อาจทำเป็นรายการโฆษณาสั้นๆ ที่เรียกว่าสปอต (Spot) แทรกหรือคั่นรายการเป็นระยะ นอกจากนี้ยังมีรายการวิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจการของหน่วยงานองค์การต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งในด้านการศึกษาถือว่ารายการประเภทนี้ อาจเป็นอันตรายในแง่ที่ส่งเสริมให้คนเกิดค่านิยมที่ไม่ดีในการบริโภค และเป็นช่องทางสำหรับการโฆษณาชวนเชื่ออีกด้วย
รูปแบบของรายการวิทยุ
รูปแบบของรายการวิทยุ1. รายการพูดกับผู้ฟัง คือรายการที่มีผู้พูดเพียงคนเดียวพูดกับผู้ฟัง เสมือนว่าผู้ฟังเป็นคู่สนทนาเพียงแต่ไม่มีโอกาสพูดโต้ตอบ ความสำเร็จของรายการประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้พูด ว่าจะสามารถพูดให้น่าสนใจ พูดให้เข้าใจ หรือพูดให้ผู้ฟังรู้สึกมีส่วนร่วมได้เพียงใด2. รายการปาฐกถา หมายถึง รายการพูดปราศรัยทางวิทยุ เช่น การพูดของบุคคลสำคัญนายกรัฐมนตรีปราศรัยเนื่องในโอกาสต่างๆ ซึ่งจะเป็นการพูดแบบเป็นทางการ พูดตามบทที่เขียนไว้แน่นอนตายตัว ความสนใจผู้ฟังขึ้นอยู่กับ ความสำคัญของเรื่องที่พูด และความน่าศรัทธาเชื่อถือของผู้พูดเป็นสำคัญ3. รายการเพลง เป็นรายการสำคัญและมีผู้นิยมฟังมากที่สุด สถานีวิทยุต่างๆ มักมีสัดส่วนรายการเพลงมากกว่ารายการประเภทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยุ FM ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบ สเตอริโอ คุณภาพเสียงชัดเจนเป็นพิเศษ ช่วยเพิ่มความไพเราะของเพลงหรือดนตรีต่างๆ ได้มาก4. รายการสนทนา หมายถึงรายการพูดสนทนากันในเรื่องราวต่างๆ ระหว่างผู้ร่วมรายการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้นำการสนทนาเพื่อควบคุมการสนทนาให้อยู่ในขอบเขต จัดลำดับหรือเชื่อมโยงหัวข้อการสนทนา ไม่ให้ผู้ฟังเกิดความสับสน และพูดกับผู้ฟังโดยตรงในบางครั้ง เช่น การขึ้นต้น การสรุป5. รายการสัมภาษณ์ หมายถึงรายการที่มีผู้พูดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป คนหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตั้งคำถามตามที่จัดเตรียมเป็นลำดับเอาไว้ บุคคลอื่นจะเป็นผู้ตอบคำถาม6. รายการอภิปราย เป็นรายการพูดอีกลักษณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ดำเนินการอภิปราย 1 คน และผู้ร่วมอภิปรายประมาณ 2-4 คน พูดคุยแสดงความคิดเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในทัศนะหรือมุมมองของแต่ละคนที่แตกต่างกัน7. รายการสารคดี หมายถึงรายการลักษณะบรรยายเหตุการณ์ หรือเล่าเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องจากประวัติศาสตร์ บทประพันธ์ วรรณคดี อาจใช้ดนตรีประกอบหรือใช้การแสดงคล้ายละคร8. รายการข่าว หมายถึงรายการที่จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เช่น ข่าวในพระราชสำนัก ข่าวท้องถิ่น ข่าวต่างประเทศ ข่าวสังคม วิธีการเสนอข่าวอาจรายงานจากสถานที่เกิดเหตุการณ์จริง หรืออาจเรียบเรียงแล้วนำมาอ่านออกอากาศ9. รายการละครวิทยุ เป็นรายการพูดประกอบเสียง โดยใช้เทคนิคหลายๆ อย่างประกอบ กัน แสดงให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ ความเข้าใจ ความรู้สึกคล้อยตาม จึงเป็นรายการที่ได้รับความนิยมมากในอดีต ปัจจุบันเนื่องจากมีละครทางโทรทัศน์ ทำให้ความนิยมรายการละครวิทยุลดลง10. รายการนิตยสารทางอากาศ เป็นรายการเสนอเรื่องราวที่มีหลายเรื่องหลายรสในรายการเดียวกัน แต่นำเสนอในลักษณะเชื่อมโยงเรื่องราวให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน11. รายการปกิณกะ เป็นการเสนอเรื่องราวต่างๆ หลายเรื่อง เช่นเดียวกับรายการนิตยสาร เพียงแต่รายการปกิณกะแต่ละตอน แต่ละเรื่องนำเสนอแบบไม่เชื่อมโยงกัน12. รายการตอบปัญหา หมายถึงรายการที่นำผู้ชมเข้าไปร่วมรายการแข่งขันตอบปัญหาต่างๆ ผู้ฟังจะมีโอกาสคิด และหาคำตอบของตัวเองไปพร้อมกับรายการ เป็นการส่งเสริมให้เกิดความรู้ความคิด โดยเฉพาะรายการถามตอบปัญหาทางวิชาการ13. รายการตอบคำถาม หมายถึงรายการที่เปิดโอกาสให้ผู้ฟัง ถามปัญหาโดยใช้จดหมาย หรือโทรศัพท์ ผู้จัดรายการจะตอบปัญหาหรือไขข้อข้องใจต่างๆ ทางวิทยุ นอกจากจะเกิดประโยชน์สำหรับผู้ถามเองแล้ว ยังทำให้ผู้ฟังอื่นๆ ที่มีปัญหาคล้ายกันได้รับประโยชน์ด้วย
วิทยุกระจายเสียงกับการศึกษาความหมายและขอบข่ายของวิทยุทางการศึกษาวิทยุกระจายเสียงทางการศึกษา โดยทั่วไปหมายถึง รายการวิทยุที่จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชน ผู้รับฟังได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม หรือเป็นรายการวิทยุที่ก่อให้เกิดผลในแง่ที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆ เช่น รายการให้ความรู้เกี่ยวกับกฏหมาย การเกษตร การใช้ภาษา การเลี้ยงดูเด็ก การแพทย์ การระวังป้องกันโรคฯลฯ รายการเหล่านี้อาจจัดขึ้นโดยหน่วยงานของทางราชการ หน่วยงานธุรกิจเอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยารามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รายการวิทยุทางการศึกษาอีกประเภทหนึ่งคือ รายการวิทยุสำหรับการสอนบทเรียนวิชาต่างๆ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ขับร้องดนตรี ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ บทเรียนเหล่านี้ออกอากาศสำหรับเพื่อให้ครูนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระบบโรงเรียน หน่วยงานที่จัดรายการประเภทนี้ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นหนึ่งหน่วยที่รับผิดชอบจัดรายการสำหรับการเรียนการสอนโดยตรง หากพิจารณาจากรายการต่างๆดังกล่าวมาแล้ว อาจจำแนกประเภทของรายการวิทยุทางการศึกษาในขอบข่ายกว้างๆ 2 ประเภทคือ รายการวิทยุทั่วไป ที่มีคุณค่าทางการศึกษา ไม่ว่าฝ่ายผู้จัดจะมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา หรือไม่ก็ตาม และรายการวิทยุ ที่จัดขึ้นสำหรับการเรียนการสอนตามหลักสูตรต่างๆ โดยเฉพาะ
การศึกษาความหมายและขอบข่ายของรายการวิทยุทางการศึกษา จะต้องอาศัยแนวคิดพื้นฐานของการจัดการศึกษาหลายด้าน คือ แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาทางไกล การศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย จึงจะช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับวิทยุทางการศึกษาในความหมาย และขอบข่ายที่กว้างขึ้น ซึ่ง ครอบคลุมรายการวิทยุในรูปแบบต่างๆ คือ1. รายการทั่วไปที่มีคุณค่าทางการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นรายการเพื่อความบันเทิง โดยฝ่ายผู้จัดรายไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาโดยตรง แต่บังเอิญเป็นรายการที่ดี มีสาระที่เป็นคุณค่าสำหรับคนทั่วไป หรือตรงกับความต้องการของคนบางคน บางกลุ่ม เช่น รายการเพลงที่ผู้จัดแทรกสาระที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง รายการตอบปัญหาชิงรางวัล ฯลฯ2. รายการทั่วไปที่ฝ่ายผู้จัดมีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยมในเรื่องต่างๆ เช่น ด้านอาชีพ สาธารณสุข ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม เศรษฐกิจการเมือง ฯลฯ สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนทั่วไป สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการศึกษาตลอดชีวิต3. รายการวิทยุเพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียน จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกระดับ ผู้จัดรายการเป็นหน่วยงานที่มีหน้าในการให้การศึกษาโดยเฉพาะ กลุ่มเป้าหมายหลักจึงได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียน นักศึกษา ผู้บริหาร 4. รายการวิทยุเพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน หมายถึงรายการวิทยุที่จัดขึ้นสำหรับประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ช่น การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาชุมชน การศึกษาต่อเนื่อง ฯลฯ และอาจรวมถึงประชาชนทั่วไป ผู้จัดรายการเหล่านี้ได้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการจัดการศึกษานอกโรงเรียน เช่น กรมการศึกษานอกโรงเรียน และหน่วยงานอื่นๆบทบาทด้านการศึกษาของสถานีวิทยุตามปกติสถานีวิทยุกระจายเสียงทุกแห่ง มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญต่อและชุมชน 3 ประการ คือ 1. เสนอข่าวและรายงานเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในชุมชนใกล้ตัว ในประเทศและต่างประเทศ 2. ให้ความบันเทิงโดยการเสนอรายการเพลง ละคร การแสดงต่างๆที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้ฟัง ทั้งนี้ต้องไม่เป็นพิษภัยแก่จิตใจและไม่บ่อนทำลายจริยธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ 3. ให้ความรู้ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตแก่ผู้ฟัง เช่น ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วิทยาการสมัยใหม่ สุขภาพอนามัย ฯลฯ หน้าที่หลักทั้งสามประการนี้เป็นแนวความคิดที่มีต้นกำเนิดมาจากสถานีวิทยุ บีบีซี ของอังกฤษซึ่งเป็นแม่แบบของสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วโลก แม้ว่าสถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆจะตระหนักถึงภาระหน้าที่ต่อสังคม ตามหลักการที่ดีของการจัดและเสนอรายการแก่ผู้ฟัง แต่นโยบายและข้อจำกัดต่างๆ ทำให้สถานีวิทยุแต่ละแห่งให้ความสำคัญต่อหน้าที่ทั้งสามประการแตกต่างกันออกไป สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติในประเทศกำลังพัฒนา จะมีรายการข่าวมากเพราะมีหน้าที่เสนอข่าวสารรายงานกิจกรรมการปฏิบัติงานของรัฐบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ นอกจากนี้ต้องเผยแพร่ความรู้ด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานของรัฐขอความร่วมมือและความสนับสนุนด้านการจัดเวลาออกอากาศและการผลิตรายการ ส่วนสถานีวิทยุกระจายเสียงที่พึ่งพารายได้ในการดำเนินงานจากธุรกิจโฆษณา ก็จะจัดรายการเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก ในประเทศไทยคณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) พยายามให้สถานีวิทยุทุกแห่งทำหน้าที่โดยครบถ้วนทั้งสามประการ แต่ในทางปฏิบัติการควบคุมดูแลสถานีวิทยุนับร้อยๆแห่งทำได้ยากมาก นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดอื่นๆที่ทำให้การจัดรายการของสถานีวิทยุส่วนใหญ่ เน้นหนักที่ความบันเทิง ความสมดุลของรายการวิทยุทางการศึกษาหรือสัดส่วนของรายการวิทยุทางการศึกษาตามหน้าที่หลักทั้งสามประการจึงมีค่อนข้างน้อย (สุนทร พรหมรัตนพงษ์ 2531 : 240-241)จากสภาพการดำเนินงานของสถานีวิทยุที่เป็นอยู่ จึงน่าจะมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสถานีวิทยุต่างๆ ว่า ต้องรับผิดชอบเสนอรายการที่ให้ความรู้แก่ผู้ฟังบ้างในสัดส่วนที่เหมาะสม จะช่วยให้สถานีวิทยุต่างๆมีรายการประเภทที่ให้ความรู้เพิ่มมากขึ้น แม้ว่ารายการเหล่านั้นจะยังไม่ถือว่าเป็นรายการเพื่อการศึกอย่างแท้จริงก็ตาม
องค์ประกอบของรายการวิทยุเพื่อการศึกษารายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา (Eucational Programmes)
ถือได้ว่าเป็นรายการเพื่อการศึกษาที่สมบูรณ์ ควรมีองค์ประกอบต่างๆ ดังต่อไปนี้1. เป็นรายการที่มีจุดมุ่งหมาย และเนื้อหาของรายการไว้อย่างชัดเจน ในการเสนอความรู้ด้านต่างๆแก่ผู้ฟัง2. เนื้อหารายการได้รับการวิเคราะห์และจัดทำอย่างเหมาะสม ซึ่งจะต้องเป็นเนื้อหามีคุณค่าทางการศึกษาอย่างแท้จริง3. มีการกำหนดกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย เพื่อให้สามารถจัดทำรายการสอดคล้องกับปัญหา หรือความต้องการของกลุ่มผู้ฟังแต่ละกลุ่ม4. มีการกำหนดขั้นตอน และระยะเวลาในการนำเสนอ ไว้อย่างเป็นลำดับเหมาะสม เนื่องจากรายการทางการศึกษา มักจะต้องจัดเสนอรายการเป็นชุด (Series) เพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจหรือมีทักษะอย่างเพียงพอ5. ควรใช้สื่ออื่นร่วมกับการฟังรายการวิทยุ เช่น เอกสารคู่มือการฟังรายการ การใช้สื่อบุคคล ผู้นำท้องถิ่น การใช้เทปบันทึกเสียง หนังสือพิมพ์ ฯลฯ6. เป็นรายการที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงาน องค์การ หรือสถาบันที่น่าเชื่อถือในด้านการศึกษา และสามารถรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นได้7. มีการวัดผล ประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยถือว่าการให้การศึกษาทางวิทยุกระจายเสียง ก็มีจุดประสงค์ เนื้อหา และกระบวนการ เช่นเดียวกับการเรียนการสอนในห้องเรียนรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาที่จัดอยู่ในประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การศึกษาใน 2 ลักษณะ คือ เพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียน และเพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียนวิทยุเพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียน เป็นการจัดทำรายการวิทยุกระจายเสียง เพื่อออกอากาศให้ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยจัดให้สัมพันธ์และสอดคล้องกับเนื้อหาหลักสูตร ที่ใช้เรียนอยู่ตามสถานศึกษาระดับต่างๆ ถือเป็นบริการด้านการศึกษา ที่ทางราชการ หรือสถาบันการศึกษา จัดให้แก่นักเรียนนักศึกษา ปัจจุบัน มีหน่วยงานที่ดำเนินงานวิทยุเพื่อการศึกษา ทีสำคัญ 3 หน่วยงาน คือ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการใช้วิทยุโรงเรียนมาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2501 และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันได้ขยายเครื่อข่ายการใช้วิทยุเพื่อการเรียนการสอนแพร่หลายไปทั่วประเทศ จุดประสงค์ของการดำเนินงานในระยะแรก มีดังนี้1. สอนโดยตรงในบางวิชา2. ช่วยสาธิตวิธีสอน และนิเทศการสอนในบางวิชา3. ช่วยให้เด็กเกิดความสนใจ จะได้เกิดแนวคิดที่จะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองต่อไป4. เสนอบทเรียนผนวก ในกรณีที่ครูเองไม่สามารถจะสอนนักเรียนได้ถนัด หรือช่วยแนะนำให้ครูได้รู้จักวิธีการทำอุปกรณ์ประกอบการสอนอย่างง่ายๆ โดยเฉพาะในโรงเรียนเล็กๆ ที่ยังขาดแคลนอุปกรณ์การสอนมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดรายการวิทยุสำหรับการศึกษาทางไกล โดยจัดการสอนตามเนื้อหาในรายวิชา หรือชุดวิชาต่างๆที่มหาวิทยาลัยแต่และแห่งเปิดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนปัจจุบัน การดำเนินงานวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในประเทศไทย ของหน่วยงาน ต่างๆ อาศัยสถานีวิทยุเครือข่าย 2 เพื่อการศึกษา ของกรมประชาสัมพันธ์เป็นหลัก ดังรายละเอียดในหัวข้อ "โครงการวิทยุเครื่อข่าย 2 เพื่อการศึกษา"วิทยุเพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียนเป็นการจัดรายการสำหรับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายที่สำคัญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ฟังที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ของการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ ศูนย์การศึกษาท้องถิ่น และผู้ฟังที่เป็นประชาชนทั่วไป โดยไม่จำกัดอายุ เพศ วัย การศึกษาหรืออาชีพ รายการวิทยุประเภท นี้มักจะเน้นเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับอาชีพ การพัฒนาวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อม ฯลฯ การนำวิทยุกระจายเสียงเข้ามาเป็นสื่อในการศึกษาดังกล่าว เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา เป็นวิธีการหนึ่ง ในการส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา การใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษานอกโรงเรียน มีการจัดกันอยู่หลายรูปแบบ หลายวิธีการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนักการศึกษาและนักวิทยุกระจายเสียงต่างๆ ช่วยกันคิดและทดลองใช้ตามสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ของแต่ละชุมชน โดยสรุปเฉพาะแบบที่ใช้ได้ผลในเกือบทุกประเทศ ได้แก่ (สุนทร พรหมรัตนพงษ์ 2531 : 244-245)1. การใช้วิทยุกระจายเสียงในการรณรงค์ เพื่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น การรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือ การรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด การรณรงค์ด้านสาธารณสุขมูลฐาน ฯลฯ รูปแบบรายการอาจเป็นแบบการข่าว บางเรื่องอาจจะจัดทำเป็นละครวิทยุ สารคดีและนิตยสารทางอากาศ เพื่อสนองเนื้อหาในรายละเอียดมากขึ้น2. การใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา โดยจัดทำเป็นโครงการใช้สื่อประสม มีบุคลากรในท้องถิ่น เช่น เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ พัฒนากร พระ ครู ฯลฯ ให้การสนับสนุน เน้นให้ความรู้ทางด้านการเกษตร สาธารณสุข พัฒนาชุมชน ฯลฯ เมื่อมีการสนับสนุนอย่างจริงจังจากบุคลากรในระดับต่างๆ ตลอดจนการใช้วิทยุร่วมกับสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถก่อให้เกิดการพัฒนาประชากร และการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุ ที่เห็นได้ชัดเจน3. รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาแบบโปรยหว่าน ลักษณะรายการวิทยุแบบนี้เป็นการให้ความรู้ในด้านต่างๆ แก่ผู้ฟังทั่วๆ ไปเนื่องจากไม่มีการจัดกลุ่มผู้ฟังและไม่มีบุคลากรระดับท้องถิ่นสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์และติดตามผลของการรับฟังอย่างจริงจัง ความสำเร็จของรายการจึงวัดได้ยาก ถ้าหากเป็นการกระจายเสียงในพื้นที่เล็กมีจำนวนประชากรไม่มาก ก็อาจประเมินผลรายการวิทยุได้ แต่ถ้าเป็นการออกอากาศสู่ผู้ฟังจำนวนนับล้านคน ในหลายสิบจังหวัด การประเมินผลให้รู้กันอย่างถูกต้องชัดเจน ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ผู้จัดรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาแบบโปรยหว่านนี้มักจะไม่มีกำลังคนและงบประมาณ พอที่จะติดตามประเมินผลได้ ความสำเร็จของรายการวิทยุแบบนี้จะประเมินได้คร่าวๆ จากจดหมายของผู้ฟังบ้าง หรือจากจำนวนของผู้ที่ติดต่อขอเอกสารประกอบการรับฟังในรายการบ้าง นอกจากนี้อาจจะประเมินจากการสุ่มตัวอย่างผู้ฟังในบางจุด
โครงการวิทยุเครือข่ายที่ 2 เพื่อการศึกษาการจัดเสนอรายการวิทยุเพื่อการศึกษา ดังที่กล่าวมาแล้ว มีการจัดทำเป็น 3 ลักษณะคือ การเสนอรายการเป็นชุดความรู้ (Educational Series) ออกอากาศทางสถานีวิทยุต่างๆ การจัดเป็นโครงการวิทยุเพื่อการศึกษา (Educational radio programm Project) และการจัดดำเนินงานโดยจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา (Educational radio Station) ซึ่งการดำเนินจัดสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในประเทศไทย เรียกว่า "โครงการวิทยุเครือข่าย 2 เพื่อการศึกษา"โครงการวิทยุเครือข่าย 2 เพื่อการศึกษา เป็นโครงการที่จัดทำขึ้น เพื่อให้สามารถนำวิทยุกระจายเสียงมาใช้ประโยน์ทางการศึกษามากขึ้น รายละเอียดของโครงการ สรุปจาก สมบูรณ์ สงวนญาติ (สมบูรณ์ สงวนญาติ 2534 : 13-219) มีดังต่อไปนี้หลักการและเหตุผลเนื่องจากสังคมได้รับการพัฒนา การศึกษาได้ขยายตัวและเพิ่มบทบาทมากขึ้น จึงกลายเป็นแรงผลักดันให้รัฐบาลมองเห็นความสำคัญ ในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง มาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่องกับการให้การศึกษา ได้สนใจจัดโครงการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษามากขึ้นโดยอาศัยสถานีวิทยุกระจายเสียง ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นหลัก แต่เนื่องจากความต้องการในการเผยแพร่การศึกษามีมากขึ้น ประกอบ กับกรมประชาสัมพันธ์ มีภารกิจหลักด้านการเผยแพร่ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ให้แก่รัฐบาลมากอยู่แล้ว จึงไม่สามารถให้บริการทางการศึกษาโดยตรงได้เต็มที่ ในปี พ.ศ. 2520 กรมประชาสัมพันธ์จึงได้วางแผนเตรียมการจัดตั้งโครงการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาขึ้นโดยเฉพาะ โดยเรียกชื่อโครงการในระยะแรกว่า "โครงการวิทยุเครือข่ายที่ 2 เพื่อการศึกษา" มีจุดมุ่งหมายที่สนับสนุนและให้บริการทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะในขณะที่เตรียมจัดทำโครงการดังกล่าว กรมประชาสัมพันธ์ได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายการ 2 ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดรายการวิทยุเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชดังได้กล่าวมาแล้ว การวางแผนดำเนินการโครงการวิทยุเครือข่ายที่ 2 เพื่อการศึกษานี้ ได้พิจารณาอย่างรอบคอบโดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประชาสัมพันธ์ กรมวิชาการ กรมสามัญศึกษากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และทบวงมหาวิทยาลัย มาประชุมปรึกษาหารือ เพื่อตกลงในหลักการ แล้วมอบให้กรมประชาสัมพันธ์ และกรมวิชาการร่วมกันจัดทำโครงการ เพื่อมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการให้ดำเนินการได้ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2522 โดยใช้เงินกู้จากธนาคารโลก สมทบกับงบประมาณที่สำนักงบประมาณจัดสรร ให้ประมาณ 1,400 ล้านบาท เริ่มดำเนินการเดือนตุลาคม พ.ศ. 2522 และเสร็จสิ้นโครงการเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527 รวมระยะเวลาดำเนินการประมาณ 5 ปี
จุดประสงค์โครงการ มี 4 ประการคือ1. เพื่อให้การศึกษาในระบบโรงเรียน โดยจัดทำรายการให้สอดคล้องกับหลักสูตร ประมวล การสอนและกลวิธีในการสอนเป็นบริการที่จัดส่งถึงห้องเรียน ตัวครูและตัวผู้เรียน2. เพื่อให้การศึกษานอกระบบโรงเรียน โดยจัดทำรายการให้การศึกษาแก่ประชาชนซึ่งไม่มีโอกาสเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาตามปกติ เป็นการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีพตามแนวทางการให้การศึกษาตลอดชีวิต3. เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนโดยทั่วไป โดยจัดทำรายการที่มุ่งให้ความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชนทั่วไป4. เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนที่ไม่มีโอกาสเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย โดยจัดทำรายการให้บริการในลักษณะมหาวิทยาลัยเปิด เป็นการเพิ่มพูนความรู้และวิทยฐานะลักษณะโครงการ1. จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ในระบบเครือข่ายให้สามารถกระจายเสียงได้ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 90 ของพื้นที่ประเทศไทย โดยจัดตั้งสถานีที่กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น นครสวรรค์ อุบลราชธานี จันทบุรี สุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา ระนอง และแม่ฮ่องสอน รวม 11 สถานี โดยให้สถานีในกรุงเทพมหานครเป็นสถานีแม่ข่าย2. มีห้องผลิตรายการประจำภาค 3 แห่ง คือ อุบลราชธานี ลำปาง และสงขลา3. ให้สถานีเครือข่ายแต่ละแห่ง สามารถออกรายการเพื่อท้องถิ่น ได้ตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสม4. ให้ทุกสถานีสามารถกระจายเสียงได้วันละประมาณ 18 ชั่วโมง5. ให้ใช้สถานีเครือข่ายที่ 2 เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเพียงอย่างเดียว โดยถือว่ารายการข่าวในประเทศ และข่าวต่างประเทศเป็นรายการเพื่อการศึกษา6. ให้กรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการในด้านสถานีส่ง เริ่มตั้งแต่การจัดตั้งสถานีและการควบคุมด้านเทคนิค7. การจัดรายการให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องการดำเนินงาน1. การจัดตั้งสถานีแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะแรกปีงบประมาณ 2523 -2525 จัดตั้ง 6 สถานี คือ กรุงเทพมหานคร ลำปาง ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี สงขลา และอุบลราชธานี ระยะที่สอง ปีงบประมาณ 2524 -2526 ดำเนินการในจังหวัดที่เหลืออีก 5 จังหวัดคือ นครสวรรค์ จันทบุรี กระบี่ แม่ฮ่องสอน ระนอง2. งบประมาณดำเนินการ ใช้งบประมาณแผ่นดินและเงินกู้จากธนาคารโลก เป็นค่าอาคารและสิ่งก่อสร้าง คุรุภัณฑ์สำนักงาน และอุปกรณ์เครื่องส่ง3. อัตรากำลัง ก.พ.อนุมัติให้บุคลากรรับผิดชอบในการดำเนินงาน รวม 163 ตำแหน่ง 4 ด้านรายการกระจายเสียง มีหน่วยงานรับผิดชอบจัดทำรายการ ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้นๆ เช่น ในกระทรวงศึกษาธิการมีกรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมการฝึกหัดครู ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ในทบวงมหาวิทยาลัยมีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยราม-คำแหง นอกจากนี้ยังมีกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนกรมประชาสัมพันธ์ผลิตรายการถ่ายทอดข่าว เริ่มส่งกระจายเสียงตั้งแต่ปลายปีพ.ศ 2525 จำนวน 6 สถานี และปลายปี พ.ศ. 2526 อีก 5 สถานี รวม 11 สถานี ครบตามโครงการ
จังหวัดที่ตั้งสถานี ระบการส่ง กำลังออกอากาศ ความถี่ของคลื่นวิทยุ1 กรุงเทพมหานคร AM 100 KW 1467 KHz2 ลำปาง AM 100 KW 549 KHz3 ขอนแก่น AM 100 KW 621 KHz4 อุบลราชธานี AM 20 KW 711 KHz5 สุราษฎร์ธานี AM 50 KW 1242 KHz6 สงขลา AM 50 KW 558 KHz7 นครสวรรค์ AM 50 KW 936 KHz8 จันทบุรี AM 20 KW 918 KHz9 กระบี่ AM 50 KW 963 KHz10 แม่ฮ่องสอน FM 2.5x2 KW 102 KHz11 ระนอง FM 2.5x2 KW 105.75 KHz
ลักษณะของเครื่องส่ง
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเครือข่ายที่ 2 เพื่อการศึกษา แต่ละสถานีมีระบบการส่งกำลังออกอากาศ และความถี่ของคลื่นวิทยุแตกต่างกัน พอสรุปได้ตามตารางการดำเนินงาน สถานวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ กรมประชาสัมพันธ์จึงได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการพิจารณาการใช้วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเครือข่ายที่ 2 เพื่อการศึกษา ประกอบด้วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นประธาน รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นรองประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงาน ผู้ใช้สถานี และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา และสื่อมวลชนเป็นกรรมการ ทำหน้าที่จัดสรรเวลาการกระจายเสียง การใช้ห้องผลิตรายการโดยทำหน้าที่ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรายการ ลักษณะของรายการกระจายเสียงแบ่ง 5 กลุ่ม คือ1. รายการการศึกษาในระบบโรงเรียน2. รายการศึกษานอกระบบโรงเรียน3. รายการส่งเสริมวิทยฐานะครู4. รายการศึกษาของมหาวิทยาลัย5. รายการความรู้ทั่วไป
รายการดังกล่าวประกอบด้วยรายการย่อยๆ ดังนี้1. รายการวิทยุโรงเรียน ปัจจุบันผลิตรายการโดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ซึ่งขาดแคลนครูและสื่อการเรียนการสอน ให้มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนในเมือง กลุ่มเป้าหมายเป็น นักเรียนอายุระหว่าง 7 -17 ปี ระดับ ป. 1 -ม.5เนื้อหาของรายการ เป็นบทเรียนเสริมหลักสูตร และบทเรียนสอนกลุ่มทักษะ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้วิทยุเป็นสื่อนำบทเรียนที่มีคุณภาพ วิธีการใหม่ๆ หรือประสบการณ์บางอย่างที่ครูไม่สามารถจัดหาได้ หรือหาได้ยาก แต่ละรายการจะใช้เวลา 20 -25 นาที2. รายการการศึกษานอกโรงเรียนทางวิทยุไปรษณีย์ (ว.ป.ณ.) ผลิตรายการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในสังกัดกองปฏิบัติการ กรมการศึกษานอกโรงเรียน มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอาชีพของประชาชน รวมทั้งการให้ข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน เพื่อยกระดับการศึกษาของประชาชน รวมทั้งการเสริมสร้างการเป็นพลเมืองดีและมีความเลื่อมใสศรัทธาในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เทิดทูนในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนทั่วไปที่มีอายุระหว่าง 18 -40 ปีเนื้อหาของรายการ แบ่งออกเป็น 3 หลักสูตร2.1 หลักสูตรตามโครงการแก้ไขการไม่รู้หนังสือแบบเบ็ดเสร็จ (อ่านออก -เขียนได้) มุ่งให้บริการประชาชนที่อยู่ในท้องที่ห่างไกล และไม่มีโอกาสได้ศึกษาในโรงเรียนให้อ่านออกเขียนได้2.2 หลักสูตรการศึกษาสายสามัญแบบเบ็ดเสร็จระดับ 3 -4 มุ่งให้ความรู้แก่เยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน แต่ขาดโอกาสเข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียน หลักสูตรนี้มุ่งส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา มีหลักสูตรต่างๆ ดังนี้คือ- หลักสูตรเบ็ดเสร็จเบื้องต้น (อ่านออก เขียนได้) เทียบเท่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จระดับ3 เทียบเท่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6- หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จระดับ 4 เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3- หลักสูตรกลุ่มสนใจทางวิทยุและไปรษณีย์ เป็นหลักสูตรความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาชีพ การอนามัย การสังคมศึกษา การศิลปและวัฒนธรรม3. รายการส่งเสริมความรู้วิชาชุดครูทางไปรษณีย์ ผลิตรายการโดยศูนย์การศึกษาสำหรับครูทางวิทยุไปรษณีย์ กองส่งเสริมวิทยฐานะครู กรมการฝึกหัดครู มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูประจำการที่ห่างไกลมีโอกาสศึกษาบทความรู้เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในด้านการสมัครสอบวิชาชุดครูทางไปรษณีย์ และใช้ในการปรับปรุงการสอนหรือเป็นพื้นฐานทางการศึกษาต่อในระดับสูง กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูประจำการ หรือผู้ที่ทำงานด้านการศึกษา เนื้อหารายการเน้นความรู้เกี่ยวกับวิชาชุดครู พ.ก.ศ. และ พ.ม. ซึ่งปัจจุบันหลักสูตรนี้ยกเลิกไปแล้ว4. รายการสอนมหาวิทยาลัยเปิด ผลิตรายการโดยสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช มีวัตถุประสงค์เพื่อการสอนชุดวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และเพื่อบริการชุมชนในด้านความรู้ที่จำเป็นแก่ชีวิตและการทำงาน เป็นการเปิดโอกาสให้มีการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากขึ้นโดยผู้เรียนเสียค่าใช้จ่ายต่ำ กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และประชาชนทั่วไป ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยจะไม่จำกัดการศึกษา และอาชีพ เนื้อหาของรายการ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาที่เปิดสอนตามหลักสูตรในสาขาวิชาการต่างๆ และความรู้ทั่วไป ออกอากาศช่วงละประมาณ 1 ชั่วโมง5. รายการส่งเสริมการเกษตร ผลิตรายการโดยกองเกษตรสัมพันธ์กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร บริการข่าวสาร การเคลื่อนไหวของหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนทั่วไปในชนบทโดยเฉพาะที่เป็นเกษตรกร เนื้อหาของรายการ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานด้านการเกษตรทั่วไป เทคนิคและวิชาการแผนใหม่ โดยเน้นด้านการลงทุนแบบประหยัด6. รายการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ผลิตรายการโดยกองสุขศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำด้านการเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขโดยเน้นด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านสุขภาพอนามัย ที่ถูกต้อง กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนทั่วไปในชนบท อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้สื่อข่าวสาธารณสุข เนื้อหารายการเน้นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข การส่งเสริมสุขอนามัย การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ การถามตอบปัญหาต่างๆ 7. รายการถ่ายทอดข่าว กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบ ถ่ายทอดข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารทางราชการ ความรู้ทั่วไป และความเคลื่อนไหวในเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนทั่วประเทศ เนื้อหาของรายการ คือข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ วิเคราะห์ข่าว ข่าวกีฬา บทความรู้ทุกประเภท และมีเอกสารประกอบสำหรับประชาชนทั่วไป ได้แก่ วิทยุสาร บทสัมภาษณ์ บทความเป็นต้น
การจัดสรรเวลาและช่วงเวลาการกระจายเสียงคณะกรรมการได้ดำเนินการจัดสรรเวลา และช่วงเวลากระจาย การใช้ห้องบันทึกเสียง นำเสนอธนาคารโลกให้ความเห็นชอบ โดยกำหนดให้ออกอากาศทุกวันๆ ละ 18 ชั่วโมง 40 นาที ตั้งแต่เวลา 5.00 น. ถึง 23.40 น. หรือสัปดาห์ละ 130 ชั่วโมง 40 นาที สัดส่วนของรายการมีดังนี้1. รายการวิทยุโรงเรียน สัปดาห์ละ 25 ชั่วโมง2. รายการการศึกษานอกโรงเรียนทางวิทยุและไปรษณีย์ สัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง3. รายการมหาวิทยาลัยเปิด (มสธ.) สัปดาห์ละ 49 ชั่วโมง4. รายการเสริมความรู้วิชาชุดครูทางวิทยุและไปรษณีย์ สัปดาห์ละ 10 ชั่วโมง5. รายการส่งเสริมการเกษตร สัปดาห์ละ 7 ชั่วโมง6. รายการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง 20 นาที7. รายการถ่ายทอดข่าว สัปดาห์ละ 16 ชั่วโมง 20 นาที
แนวการจัดรายการวิทยุ
แนวการจัดรายการวิทยุเพื่อการศึกษาเพื่อให้รายการวิทยุเพื่อการศึกษาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การจัดรายการควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 5 ประการ คือ1. กลุ่มผู้ฟัง ต้องกำหนดให้ชัดเจน แล้วจัดรายการให้สอดคล้อง โดยคำนึงถึงวัย ระดับการศึกษาและความสนใจ2. เนื้อหา ต้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายการ โดยคำนึงถึงความเป็นจริงที่เชื่อถือได้ ในกรณีที่จัดรายการต่อเนื่องให้คำนึงถึงลำดับความยากง่ายของเนื้อหาด้วย3. เวลา ต้องเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสรับฟังได้มากที่สุด และความสั้นยาวของช่วงเวลาต้องเหมาะกับช่วงความสนใจของกลุ่มผู้ฟัง 4. รูปแบบรายการ ต้องเลือกให้เหมาะสม ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ เช่น การบรรยาย การอภิปราย การสนทนา บทความ สารคดี สัมภาษณ์ ละคร นิตยสาร ซึ่งบางทีเรียกว่า แมกกาซีนโปรแกรม เป็นรายการที่ประกอบด้วยรายการย่อยๆ หลายรายการรวมกัน มักเป็นรายการสาระกึ่งบันเทิง เช่น รายการที่เป็นละครสั้น บทความสัมภาษณ์ และเพลงประกอบกัน5. การประเมินผล เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงรายการให้ดีขึ้น อาจทำได้ทั้งแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น เปิดโอกาสให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นติชมรายการทางโทรทัศน์ หรือทางจดหมาย กับแบบเป็นทางการ คือ รวบรวมความคิดเห็นจากผู้ฟังโดยใช้แบบสอบถามลักษณะของรายการที่ส่งมาออกอากาศ จะใช้วิธีบันทึกลงเทปทั้งหมด โดยใช้ห้องบันทึกเสียงของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ในกรุงเทพมหานคร และห้องผลิตรายการส่วนภูมิภาคอีก 3 แห่ง ของกรมประชาสัมพันธ์ คือ จังหวัดอุบลราชธานี ลำปางและสงขลาขณะนี้รายการวิทยุโรงเรียน ออกอากาศจากอาคารศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ถนนศรีอยุธยา โดยส่งสัญญาณเชื่อมโยงด้วยระบบไมโครเวฟ ไปยังสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเครือข่าย 2 เพื่อการศึกษาของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ซอยอารีย์สัมพันธ์ แล้วกรมประชาสัมพันธ์จะส่งสัญญาณโยงต่อไปยัง ศูนย์โทรคมนาคมขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ที่ถนนกรุงเกษม ต่อจากนั้นศูนย์โทรคมนาคมแห่งประเทศไทยต่างจังหวัด จะส่งสัญญาณเชื่อมโยงต่อไปยังสถานีเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีรัศมีการรับฟังครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 90 ของประเทศรายการวิทยุเพื่อการศึกษา เป็นสื่อการศึกษาที่จำเป็นอย่างยิ่งในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์สู่ผู้ฟัง เพราะประชาชนชาวไทยในชนบทจำนวนมากยังมีฐานะยากจน ระดับการศึกษายังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ จำนวนผู้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้มีจำนวนมาก โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่ห่างไกล บุคคลเหล่านี้ขาดโอกาสทางการศึกษา ตลอดจนโอกาสที่จะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ และดำรงชีวิตของตน การรับฟังข่าวสารจำกัดอยู่ในวงแคบ ส่วนมากรับฟังได้จากสื่อทางวิทยุกระจายเสียง การใช้วิทยุกระจายเสียงออกอากาศทางด้านการศึกษานี้ จึงนับว่าได้ประโยชน์อย่างกว้างขวางแก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรให้สูงขี้น ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคม ถ้าประชาชนมีการศึกษาเท่าเทียมกันแล้ว ย่อมเป็นการง่ายต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
สรุปวิทยุกระจายเสียง
เป็นสื่อมวลชลที่แพร่หลาย และมีอิทธิพลต่อสังคมอย่างสูงมาเป็นเวลากว่า 100 ปีมาแล้ว ประเทศไทยตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 7 และมีพัฒนาการแพร่หลายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สถานีวิทยุในประเทศไทยปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากหลายร้อยสถานีกระจายอยู่ทั่วประเทศ วิทยุกระจายเสียงมีคุณลักษณะที่ดีเด่นหลายประการ ที่สำคัญ คือ ความสะดวกรวดเร็ว และการกระจายข่าวสารไปได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จึงสามารถนำมาใช้สำหรับการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง ระบบของวิทยุกระจายเสียงประกอบด้วย เครื่องส่ง เครื่องรับคลื่นความถี่ การผสมคลื่นซึ่งอาจเป็นแบบ AM หรือ FM รายการวิทยุแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ รายการข่าวสาร รายการเพื่อการบันเทิง รายการเพื่อการศึกษา และรายการโฆษณาประชาสัมพันธ์ รูปแบบของรายการอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น รายการพูด ละคร สนทนา เพลง สัมภาษณ์ การตอบปัญหาฯลฯ การศึกษาเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีวิทยุและรับฟังวิทยุเป็นประจำทุกวัน รายการที่มีผู้ฟังมากที่สุดได้แก่รายการข่าว และรายการด้านบันเทิงด้านการศึกษา มีการจัดระบบการใช้วิทยุสำหรับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั้งสำหรับการศึกษาของประชาชนทั่วไป และการศึกษาในระบบโรงเรียน หน่วยงานสำคัญที่จัดรายเพื่อการศึกษา คือ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โครงการที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา ที่สำคัญคือ โครงการวิทยุเครือข่าย 2 เพื่อการศึกษาในปัจจุบัน ประชาชนให้ความสนใจวิทยุกระจายเสียงน้อยลง เนื่องจากการพัฒนาแพร่หลายอย่างรวดเร็วของโทรทัศน์ แต่การฟังวิทยุก็ยังเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในบางโอกาส
สรุปความคิดเห็นของตนเอง
ตามที่วิเคราะห์แล้วว่า Broadcast Radio มีความสำคัญต่างๆมากมายอีกทั้งให้ความรู้ต่างๆ ได้ทั้งความบันเทิง และถือได้ว่าเป็นรายการเพื่อการศึกษาที่สมบูรณ์ ควรมีองค์ประกอบต่างๆ ดังต่อไปนี้1. เป็นรายการที่มีจุดมุ่งหมาย และเนื้อหาของรายการไว้อย่างชัดเจน ในการเสนอความรู้ด้านต่างๆแก่ผู้ฟัง2. เนื้อหารายการได้รับการวิเคราะห์และจัดทำอย่างเหมาะสม ซึ่งจะต้องเป็นเนื้อหามีคุณค่าทางการศึกษาอย่างแท้จริง3. มีการกำหนดกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย เพื่อให้สามารถจัดทำรายการสอดคล้องกับปัญหา หรือความต้องการของกลุ่มผู้ฟังแต่ละกลุ่ม4. มีการกำหนดขั้นตอน และระยะเวลาในการนำเสนอ ไว้อย่างเป็นลำดับเหมาะสม เนื่องจากรายการทางการศึกษา มักจะต้องจัดเสนอรายการเป็นชุด (Series) เพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจหรือมีทักษะอย่างเพียงพอ5. ควรใช้สื่ออื่นร่วมกับการฟังรายการวิทยุ เช่น เอกสารคู่มือการฟังรายการ การใช้สื่อบุคคล ผู้นำท้องถิ่น การใช้เทปบันทึกเสียง หนังสือพิมพ์ ฯลฯ6. เป็นรายการที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงาน องค์การ หรือสถาบันที่น่าเชื่อถือในด้านการศึกษา และสามารถรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นได้7. มีการวัดผล ประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยถือว่าการให้การศึกษาทางวิทยุกระจายเสียง ก็มีจุดประสงค์ เนื้อหา และกระบวนการ เช่นเดียวกับการเรียนการสอนในห้องเรียนรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาที่จัดอยู่ในประเทศไทย